ขั้นตอนขอคืนเงินค่าภาษีรถ

ขั้นการการขอคืนเงินภาษีรถ
ขั้นการการขอคืนเงินภาษีรถ

การขอคืนเงินภาษีรถ หากมีการชำระภาษีซ้ำซ้อนในปีเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการชำระหลายช่องทาง สามารถดำเนินการขอคืนเงินค่าภาษีรถได้ ดังนี้

เงื่อนไขการขอคืนเงินภาษีรถ

  • มีการชำระเงินค่าภาษีถูกต้อง ผ่านระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
  • มีการชำระภาษีซ้ำซ้อนในปีภาษีเดียวกัน ระหว่าง ระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ตกับระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต หรือระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต กับระบบชำระภาษีรถยนต์ผ่านสำนักงานขนส่ง หรือระบบชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต กับช่องทางชำระภาษีอื่นๆ
  • ตรวจสอบการชำระภาษีซ้ำที่หน้าเว็บไซต์ ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ที่สถานะการดำเนินการ ‘พบความผิดพลาดติดต่อกรม’

เอกสาร/หลักฐานประกอบ

  • พิมพ์เอกสารการยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ที่สถานะการดำเนินการ ‘พบความผิดพลาดติดต่อกรม’ จากนั้นสามารถพิมพ์เอกสารโดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์
  • ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีจากกรมการขนส่งทางบกฉบับจริงเท่านั้น
  • สำเนาสมุดคู่มือรถ หน้าที่ระบุผู้ถือกรรมสิทธิ์รถคนปัจจุบัน
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ถือกรรมสิทธิ์รถ
  • ใบมอบอำนาจ (กรณีผู้ถือกรรมสิทธิ์รถไม่ได้ดำเนินการเอง) และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณีรถติดไฟแนนซ์ ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • สำเนาสัญญาเช่าชื้อ
    • สำเนาบัตรประชาชนผู้เช่าซื้อ
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการที่มีอำนาจลงนาม
    • สำเนาใบรับรองบริษัทไฟแนนซ์
    • ใบมอบอำนาจจากบริษัทไฟแนนซ์
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับโอนเงินภาษีคืน

สถานที่ขอคืนเงินภาษี

  • สอบถามเพื่อยืนยันการได้รับเงินชำระภาษีซ้ำซ้อน ที่เบอร์ 02-271-8888 ต่อ 9313
  • เมื่อได้รับการยืนยันแล้วนำเอกสารหลักฐานยื่นที่ กรมการขนส่งทางบก จตุจักร อาคาร 2 ชั้น 2 งานรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรืองานรถจักรยานยนต์
  • เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมกับแจ้งกำหนดการคืนเงินให้ทราบต่อไป

** ทั้งนี้ ขั้นตอนการขอคืนเงินต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการคืนเงินค่าภาษี ดังนั้นให้ตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนการชำระเงินทุกครั้ง

ที่มา กรมการขนส่งทางบก (dlt.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Message us