เช็คภาษีรถประจำปี

กรมการขนส่งทางบก (dlt.go.th)

เช็คภาษีรถออนไลน์

การเช็คภาษีรถ สามารถเช็ควันหมดอายุด้วยตัวเอง ผ่านทางช่องทางเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/  และไปที่ลิ้งก์ กรมการขนส่งทางบก (dlt.go.th) ให้กรอกข้อมูลให้ครบ ระบบจะแจ้งข้อมูลค่าภาษีที่ต้องชำระมาให้ ดังภาพ

สอบถามข้อมูลค่าภาษีรถประจำปี

การชำระภาษีรถออนไลน์

มีเงื่อนไขที่ว่าต้องเป็นรถยนต์ที่อายุยังไม่เกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน ส่วนการเช็คภาษีรถ สามารถเช็ควันหมดอายุด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ ผ่านทางช่องทางเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ ซึ่งสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ ของกรมขนส่งทางบก
  2. หากยังไม่เคยลงทะเบียน จะต้องเลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่ พร้อมกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
  3. หลังจากลงทะเบียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ log in เข้าสู่ระบบ
  4. เลือก ชำระภาษีรถประจำปี และ ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต
  5. หากจดทะเบียนรถยนต์เป็นชื่อของตัวเอง ระบบจะแสดงรายชื่อรถยนต์อัตโนมัติ แต่หากไม่ใช่ ให้คลิกที่ ลงทะเบียนรถ กรอกข้อมูลให้ถูกต้อง แล้วกดบันทึก
  6. ระบบจะแสดงชื่อและทะเบียนรถยนต์ที่ถูกต้อง จากนั้นคลิกเลือก ยื่นชำระภาษี
  7. เมื่อเข้ามาในหน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมด ทั้งรายละเอียดรถ, วันสิ้นอายุภาษี และวันสิ้นอายุภาษีครั้งต่อไป พร้อมจำนวนเงินที่ต้องชำระ

ระยะเวลาดำเนินการ

สำหรับการต่อภาษีรถประจำปี ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีชั่วคราวเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระภาษีจนกว่าจะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีจากกรมการขนส่งทางบก โดยสามารถเลือกช่องทางรับเครื่องหมายการเสียภาษี ได้ทั้งทางไปรษณีย์ ซึ่งจะได้รับภายใน 5 วันทำการ หรือสำหรับผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร สามารถเลือกพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีได้ด้วยตนเองที่ตู้ Kiosk ที่ติดตั้งในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 ได้อีกหนึ่งช่องทาง ส่วนรถที่ไม่มีเงื่อนไขต้องตรวจสภาพรถก่อนชำระภาษีสามารถดำเนินการได้ทันที รวมระยะเวลาตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ ไม่เกิน 5 วันทำการทั้งนี้ สามารถตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการ หมายเลข EMS หรือกรณีพบข้อผิดพลาด ได้ที่เว็บไซต์ ที่ เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

บทความที่เกี่ยวข้อง

Message us