ข้อแตกต่างระหว่าง GPS กรมการขนส่งทางบก vs GPS ทั่วไป

 GPS กรมการขนส่งทางบก vs GPS  ทั่วไป ต่างกันอย่างไร?
GPS กรมการขนส่งทางบก vs GPS ทั่วไป ต่างกันอย่างไร?

เทคโนโลยีของระบบติดตามรถยนต์หรือ GPS Tracking นั้น ถูกนำมาใช้ในวงการโลจิสติกส์ และการขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ตั้งแต่มีประกาศเรื่อง GPS กรมการขนส่งทางบก ที่กำหนดให้รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท, รถบรรทุกขนาดใหญ่, รถขนวัตถุอันตราย และรถลากจูง ต้องติดตั้งเครื่องติดตามรถในช่วงต้นปี 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งสเปกเครื่อง GPS Tracker กรมการขนส่งทางบกนั้น มีความแตกต่างกับ GPS ทั่วไปอยู่หลายประการเลยทีเดียว

1. ความแตกต่างของ GPS กรมการขนส่งทางบก กับ GPS ทั่วไป

กรมการขนส่งทางบก gps tracking มีการทำงานอย่างไร?
กรมการขนส่งทางบก gps tracking มีการทำงานอย่างไร?

1.1 มีข้อกำหนดตามกฎหมาย

สำหรับรถยนต์ รถตู้ส่วนบุคคล หรือรถอื่นที่อยู่นอกเหนือจากที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด สามารถเลือกรุ่น GPS Tracker ได้ตามความต้องการ แต่หากเป็นรถที่มีลักษณะตามประกาศ ต้องติดตั้ง GPS Tracker ที่มีคุณลักษณะตามกฎหมายกำหนดเท่านั้น มิเช่นนั้นจะไม่สามารถจดหรือต่อทะเบียนรถได้ ซึ่งหากมีการตัดสัญญาณ, รบกวนสัญญาณ หรือถอดเครื่องออก จะมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ด้วย

1.2 ต้องมีหนังสือรับรอง GPS

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ GPS กรมการขนส่งทางบก คือต้องติดตั้งกับผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรองเท่านั้น จึงจะสามารถออกเอกสารรับรอง เพื่อนำไปดำเนินการทางทะเบียน หรือใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสภาพรถได้ ซึ่งจะมีเครื่องหมายรับรองติดแสดงไว้ให้ที่ตัวรถด้วย

1.3 ต้องติดตั้งพร้อมเครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก

GPS กรมการขนส่งทางบก ครบเซ็ต พร้อมติดตั้ง
GPS กรมการขนส่งทางบก ครบเซ็ต พร้อมติดตั้ง

ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก GPS Tracking สำหรับรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท และรถบรรทุกขนาดใหญ่ จะต้องติดตั้งพร้อมเครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Stripe Card Reader) ซึ่งผู้ขับขี่จะต้องรูดใบอนุญาตขับรถ เพื่อแสดงตัวตนก่อนขับขี่ จึงจะสามารถใช้งานรถได้

1.4 มีระบบแจ้งเตือน

GPS Tracker ที่กรมขนส่งกำหนดนั้น จะมีระบบแจ้งเตือนในกรณีที่ผู้ขับขี่ไม่แสดงตัวตนด้วยการรูดบัตร ซึ่งเครื่องจะต้องแจ้งเตือนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 นาที หรืออาจกำหนดการเปิดระบบเครื่องยนต์ ด้วยการรูดบัตรเลย

1.5 GPS ต้องทำงานพร้อมเครื่องยนต์

หากเป็นรถทั่วไป ผู้ขับขี่สามารถกำหนดการเปิดปิดระบบติดตามรถได้เอง แต่ถ้าเป็นรถที่มีลักษณะ ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก GPS Tracking จะต้องทำงานตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน หรือตลอดเวลาที่รถเคลื่อนที่ ห้ามปิดระบบขณะขับขี่เด็ดขาด ซึ่งหากมีการรบกวนสัญญาณหรือถอด GPS Tracker จะมีความผิดทั้งผู้ขับขี่และผู้ประกอบการ

1.6 ตรวจสอบข้อมูลคนขับได้

GPS กรมขนส่งจะมีระบบบ่งชี้ข้อมูลผู้ขับรถ ที่เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เข้ากับเซิร์ฟเวอร์ของกรมการขนส่งทางบก จึงสามารถตรวจสอบตัวตนและคุณสมบัติของผู้ขับขี่ได้แบบเรียลไทม์ เช่น ใบอนุญาตขับรถตรงกับประเภทรถหรือไม่, ใบขับขี่หมดอายุหรือไม่ หรือกำลังฝ่าฝืนขับรถในขณะถูกยึดใบขับขี่

1.7 ติดตามแบบเรียลไทม์

สำหรับการติดตั้ง GPS ข้อดีข้อเสียของระบบเรียลไทม์นั้น ยังเป็นที่พูดถึงในแง่ความเป็นส่วนตัว และสิทธิส่วนบุคคลอยู่บ้าง แต่หากเป็นรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนาดใหญ่แล้ว น่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมความปลอดภัยของส่วนรวมมากกว่า เพราะสามารถมอนิเตอร์พฤติกรรมการขับขี่ได้แบบเรียลไทม์ และติดตามความเร็วรถได้ทุก 1 นาที โดยจะมีการรายงาน หากขับขี่เร็วเกินกฎหมายกำหนดด้วย

2. ประโยชน์ของ GPS Tracking กรมการขนส่งทางบก

2.1 ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ

เป้าหมายหลักของการติดตั้ง GPS กรมการขนส่งทางบกระบุว่า จะทำให้ควบคุมความเร็ว พฤติกรรมการขับขี่ และชั่วโมงการทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยลดอุบัติเหตุและความเสี่ยงต่าง ๆ ได้

2.2 ลดความเสี่ยงถูกโจรกรรม

GPS Tracker จะทำให้ผู้ประกอบการ ทราบพิกัดของรถแบบเรียลไทม์ ดังนั้นหากผู้ขับขี่ขับออกนอกเส้นทางโดยไม่มีเหตุจำเป็น หรือไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า อาจสงสัยได้ว่า รถน่าจะถูกขโมย ซึ่งจะทำให้สามารถรับมือปัญหาได้เร็วขึ้น หรือหากเป็นคนนอกที่ตั้งใจขโมยรถ ก็จะไม่สามารถทำได้ เพราะไม่สามารถรูดใบขับขี่เพื่อเปิดระบบได้

2.3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์

ประโยชน์ของ GPS กรมขนส่งที่ค่อนข้างชัดเจน คือผู้ประกอบการจะมีข้อมูลสำคัญ ที่สามารถนำไปพัฒนาระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ GPS ของขนส่งจะต้องเปิดไว้ตลอดเวลา ทำให้ทราบข้อมูลการเดินทางอย่างละเอียด เช่น เส้นทางที่ใกล้ที่สุด, ช่วงเวลาที่รถไม่ติด, พฤติกรรมการพักของพนักงานขับขี่ ซึ่งจะทำให้วางแผนการขนส่งได้คุ้มค่าขึ้น ช่วยลดต้นทุนลงได้อีกมาก

2.4 ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Strategy) คือเทรนด์ใหม่ของธุรกิจยุคนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ แนวคิดที่จะลดการใช้พลังงาน เพื่อลดการสร้างมลพิษ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ของ GPS ในการวางแผนเส้นทาง เพื่อลดการใช้พลังงาน และสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนได้

3. GPSDD เหมาะสำหรับติดตั้งกับรถทุกประเภท

GPS กรมการขนส่งทางบก บังคับใช้กับรถอะไรบ้าง
GPS กรมการขนส่งทางบก

ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก GPS Tracking รถแท็กซี่, รถตู้, รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท, รถลากจูง และรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ต้องติดตั้ง GPS กรมขนส่งกับผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองแล้วเท่านั้น ซึ่ง GPSDD เราผ่านการรับรองเรียบร้อย สามารถเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์กรมขนส่งได้ทันที หรือสำหรับรถส่วนบุคคลทั่วไป เรามีก็บริการ GPS ทั่วไปให้เลือกอีกหลากหลายรุ่น

4. สรุป

GPS กรมการขนส่งทางบก เป็นอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งคู่กับเครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก โดยต้องรูดใบขับขี่ก่อนใช้งาน ต้องเปิดเครื่องตลอดเวลา และต้องติดตั้งกับผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองเท่านั้น จึงจะสามารถออกใบรับรอง เพื่อนำไปดำเนินการทางทะเบียนได้


เช็คลิสต์ตำแหน่ง! ติด gps รถยนต์ตรงไหน สะดวก และปลอดภัยมากที่สุด!

เช็คลิสต์ตำแหน่ง! ติด gps รถยนต์ตรงไหน สะดวก และปลอดภัยมากที่สุด!

เราควร ติด gps รถยนต์ตรงไหน ถึงจะเหมาะสมที่สุด? ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้ง GPS พร้อมทั้งข้อควรคำนึงต่าง ๆ

อ่านต่อ
7 เหตุผลที่รถของคุณต้องมี GPS ติดรถแบบซ่อน ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน

7 เหตุผลที่รถของคุณต้องมี GPS ติดรถแบบซ่อน ฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน

GPS ติดรถแบบซ่อน ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีเลย เพราะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับรถของคุณจากการถูกโจรกรรมได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อ
Message us